หน่วยงานต้อง ถ่ายรูปและวิดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมตามวัตถุประสงค์กิจกรรมนั้นๆ เป็นหลัก (ก่อนงาน) ประกาศลงท้ายการประชาสัมพันธ์หรือสื่อโฆษณาว่า ในกิจกรรมนั้นๆ จะมีการถ่ายรูปและวิดีโอเพื่อนำไปใช้ภายหลังงานด้วย (ในงาน) ขออนุญาตถ่ายรูป/บันทึกคลิป เพื่อนำไปอะไร หน่วยงานใด บนช่องทางใดบ้าง โดยพิธีกรหรือช่างถ่ายภาพแจ้งเป็นระยะ หากผู้ใดไม่สะดวก สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่จัดงานเพื่อประสานงานหลีกเลี่ยงให้ 4. (หลังงาน) คัดเลือกรูปและวิดีโอเฉพาะที่สื่อสารชัดเจนถึงกิจกรรมนั้น มิใช่เจาะจงเป็นรายตัวถึงบุคคลผู้ร่วมงานทั่วไป และควรมีลายน้ำระบุว่า ใช้เพื่อกิจกรรมใด ของหน่วยงานใด จัดให้มี (หากทำได้) Showing คือคล้องป้ายว่าคนนี้คือคนถ่ายรูปและบันทึกวิดีโอของกิจกรรมนี้ Warning คือติดป้ายแจ้งว่าตรงนี้เป็นพื้นที่ถ่ายรูปและวิดีโอ Zoning คือจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับผู้ไม่ประสงค์โดนถ่ายรูปและวิดีโอ Tagging คือแต้มตัวผู้ไม่ประสงค์หรือผู้ประสงค์หรือผู้เป็นเป้าหมายโดนถ่ายรูปและวิดีโอ อาทิ เข็มกลัดสี ช่อติดอก ที่คาดหัว 942 (Nah-Fo-To) เป็นต้น แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวสำหรับการถ่ายรูปและวิดีโอกิจกรรม
KM
หน่วยงานต้อง จัดวางมุมกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก จัดทำป้ายประกาศว่า พื้นที่นี้มีกล้องบันทึกอยู่ตลอด โดยใคร? เพื่ออะไร? เช่น “We use CCTVs or similar devices to monitor and record your activities and behavior for security purposes — Umbrella Corporation” ไม่ใช้คลิปที่ระบุตัวตนบุคคลได้ชัดเจนเพื่อกิจกรรมอื่น นอกจากวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย หรืออำนวยความสะดวกตามระบบรักษาความปลอดภัย ควบคุมการเข้าถึงระบบจัดเก็บคลิปจากกล้องวงจรปิดดังกล่าวให้เข้าถึงได้เมื่อจำเป็นโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตหรือมอบหมายดูแลเท่านั้น งดให้เข้าถึงระบบจัดเก็บคลิปหรือตัวกล้องวงจรปิดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะโดนละเมิดเข้าลักลอบดูหรือควบคุมหรือขโมยคลิปออกไป ห้ามมีระบบกล้องวงจรปิดอิสระอื่นใดในพื้นที่ซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบ ต้องขอขึ้นทะเบียนต่อหน่วยงานก่อนเท่านั้น ทำกิจกรรมต่อไปนี้โดยสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน สำรวจป้ายประกาศตามข้อ 2 ประเมินการควบคุมการเข้าถึง ตามข้อ 4 ปรับปรุงแผนการจัดวางกล้องของหน่วยงานตนเอง หรือที่ขอขึ้นทะเบียนไว้ ตามข้อ 6 แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวสำหรับกล้องวงจรปิด