3 กรณีศึกษาในต่างแดน ที่ละเมิดกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

      ถึงแม้ว่าในประเทศไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ซึ่งหลายๆท่านอาจยังมองภาพไม่ชัดเจนว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานอย่างไร วันนี้เราจะมายกตัวอย่าง กรณีศึกษาในต่างแดนที่มี กฏหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561  จึงทำให้เราได้เห็นความบกพร่องในการปฏิบัติตามกฏหมายของบริษัทต่างๆตามกรณีศึกษา ดังนี้

บริษัทมหาชนค่ายดังที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนตก็ยังปฏิบัติตามกฏหมายการคุ้มครองข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน  ไม่สามารถให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการเข้าถึง รายงานประมวลผลข้อมูลผู้บริโภคและไม่ขอความยินยอมจากผู้บริโภคในการนำข้อมูลมาใช้ทำแคมเปญโฆษณาแบบ targeting ซึ่งถือว่าผิดกฏหมายการคุ้มทครองข้อมูลส่วนบุคคล โดนปรับเป็นเงิน 50 ล้านยูโร หรือประมาณ 200 ล้านบาท

หน่วยงานไปรษณีย์ของออสเตรเลียขายข้อมูลผู้บริโภคโดยไม่ได้รับความยินยอม และมีหลักฐานพบว่ามีการตรวจดูข้อมูลผู้บริโภคถึงแนวโน้มการลงคะแนนเสียงที่หน่วยงานไปรษณีย์ของออสเตรเลียสนับสนุนอยู่ กรณีนี้ถูกปรับไป 18.5 ล้านยูโร หรือประมาณ 740 ล้านบาท

นอกจากความผิดทางด้านข้อมูลแล้วในรูปแบบเสียง เช่น บริษัท 1&1 Telecom GmbH ของเยอรมันนีที่มีบุคคลที่โทรเข้า call center ของบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้แค่เพียงแจ้งชื่อและ วันเดือนปีเกิด ซึ่งถือว่ามีความผิดที่ไม่มีมาตรการพิสูจน์ตัวตนและป้องกันข้อมูลที่เข้มงวดตามกฏหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงถุกสั่งปรับเป็นเงิน 9.5 ล้านยูโร หรือประมาณ 380 ล้านบาท

Scroll to Top